top of page
  • Black Facebook Icon
  • Instagram

Welcome to the world where truth doesn't hurt

ธงสีรุ้งกับความหมายของแต่ละสี

LGBTQ – Lesbian Gay Transgender Bisexual Queer


ส่วนที่มาของลายสีรุ้ง ความหมายของสีคือ สีชมพู– เพศวิถี แดง – ชีวิต ส้ม – การเยียวยาจิตใจ เหลือง – แสงอาทิตย์ เขียว – ธรรมชาติ ฟ้า – ศิลปะ คราม – ความกลมเกลียว ม่วง – จิตวิญญาณมนุษย์

ธงสีรุ้งออกแบบครั้งแรกในปี 1978 โดยกิลเบิร์ต เบเกอร์ เพื่อใช้ในงานเดินขบวนรถรงค์สิทธิความเท่าเทียมกันของชาวเกย์ Gay Freedom Day ที่ซาน ฟรานซิสโก และงานนั้นเป็นต้นแบบของงาน Gay Pride ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน


ต้องเข้าใจก่อน ว่าเมื่อก่อนใครเป็นเกย์จะโดนสังคมเหยียดหยามหนักมาก มีทั้งโดนล้อ โดนกระทืบ ไม่รับเข้าทำงาน ไล่ออกจากบ้าน หาว่าเป็นตัวแพร่เชื่อเอดส์ ฯลฯ ในยุคหนึ่งเกย์ถูกมองเป็นโรคติดต่อ ที่ใช้โถฉี่เดียวกันก็อาจติดโรคเกย์ได้ และในยุคนี้ ก็ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ยังฝังหัวว่าเกย์ กะเทย เป็นอาการจิตผิดปกติ


การเคลื่อนไหวจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการสร้างการรับรู้ที่ยุติธรรม ผลของการต่อสู้คือทำให้สิทธิมนุษยชนของคนรุ่นหลังอย่างเราดีขึ้น อารยชนผู้มีจิตใจสูงย่อมยอมรับความต่างของผู้อื่นได้

กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Photo: Getty Images)

กิลเบิร์ต เบเกอร์  (1951-2017) หรือชื่อเล่นในการแต่งแดร๊กว่า “เกย์ เบ็ตซี่ รอส” เป็นช่างทำธงมาก่อน ตอนนั้นเขาทำอยู่ที่บริษัทธงพาราเมาท์ มีชื่อเสียงในการออกแบบธงในซานฟรานซิสโกอยู่พอตัว ขนาดที่นักการเมืองก็จ้างออกแบบใช้ในวาระพิเศษ เช่นพิธีรับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐซานฟรานฯ


ดั้งเดิมธงนี้มี 8 สี แต่ต้องเอาออกสองสี คือชมพู และคราม เพราะสมัยนั้นสีชมพูดอกฟิวเชียผลิตยาก ธงรุ่นแรกๆ จึงมี 7 สี แล้วพอฮาร์วีย์ มิลค์ ผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญของ LGBTQ ในยุคนั้นโดนลอบสังหาร ก็ต้องตัดให้ลงเลขคู่อีกรอบ เพราะในงานเดินขบวนเชิดชู ฮาร์วีย์ มิลค์ ทางการต้องการประดับธงเสาไฟสองข้างทางฝั่งละสามสีเท่ากัน


แต่ตอนนี้เราเห็นแถบสีรุ้งมีทั้ง 6 สีและ 8 สี ซึ่งก็ใช้ได้ทั้งสองแบบและใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์ เพราะกิลเบิร์ตเขาต้องการมอบให้สาธารณะใช้ตั้งแต่แรกแล้ว ส่วนธงต้นฉบับฝีมือของกิลเบิร์ตยังมีให้เห็นในพิพิธภัณฑ์ MoMA ในนิวยอร์ก ธงสีรุ้งนับเป็นหลักไมล์สำคัญของงานออกแบบแห่งศตวรรษ

สำหรับเมืองไทย ที่เราคิดกันว่า โอเคมากๆ กับการที่ใครจะเป็นตุ๊ด แต่โซเชียลมีเดียก็ทำให้รู้ว่า ประเทศเรายังมีการเหยียดเกย์อันอยู่อีกมาก เช่นตอนที่เราทำรื่องวู้ดดี้แต่งงาน

นี่ไงเมืองพุธ ลิงค์บทความ: dudesweet.org/thirdworld/woodywed

ส่วนเรื่องเกย์ไพรด์ แม้ที่เวียตนาม พม่า ชิงจัดไปก่อนเมืองไทยแล้ว แต่ที่เชียงใหม่เราก็การจัดโดยกลุ่ม Chiangmai Pride และบรรยากาศก็ออกมางดงามน่าภาคภูมิใจกับความเปิดกว้างของชาวเชียงใหม่

ส่วยที่กรุงเทพฯ แม้สงกรานต์สีลมของเราจะเกย์สนั่น แต่มันก็ยังเรียกเป็น Gay Pride ไม่ได้  เพราะหัวใจหลักของเกย์ไพรด์ไม่ได้อยู่แค่พาเหรดสนุกสนาน แต่คือการผลักดันวาระเรื่องสิทธิมนุษยชนให้องค์กรรัฐบาลรับรู้และมีส่วนร่วมอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หรือผลักดันกฎหมายที่จะสร้างความก้าวหน้าให้เพศอื่นๆ ที่นอกเหนือจากชายและหญิง


ส่วนที่ไต้หวันที่ทั่วโลกต่างตื่นเต้นว่าจะได้เป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีกฏหมายแต่งงานเพศเดียวกัน เมื่อรัฐบาลนำเข้าพิจารณาเป็นวาระสำคัญเมื่อสองปีก่อน แต่ปรากฏว่าสุดท้ายก็ถูกยิงตกเพราะประชามติไม่ผ่าน ซึ่งคนรุ่นใหม่ก็วิจารณ์ว่ามันจะไปผ่านได้ยังไง ก็เล่นไปสำรวจกับคนรุ่นเก่าที่เขาแต่งงานกันไปหมดแล้วจึงไม่เห็นค่า ทำไมไม่ไปสำรวจกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่จะได้ใช้กฏหมายนี้


กัมพูชาเพื่อนบ้านของเราบรรจุเนื้อหาเรื่อง LGBTQ ในแบบเรียนเด็ก ม.5 ถึง ป.6 ส่วนแบบเรียนปริญญาโทของ ม. เกษตร ที่เขียนขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และยังคงใช้อยู่ ยังคงระบุว่า รักร่วมเพศคือความวิปริตทางเพศอย่างหนึ่ง

หนังสือชื่อ “อาชญากรรม : การป้องกัน : การควบคุม” ผู้แต่ง นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล สำนักพิมพ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548 สำหรับหลักสูตรปริญญาโท

bottom of page