top of page
  • Black Facebook Icon
  • Instagram

Welcome to the world where truth doesn't hurt

นอร์แมน ร็อคเวลล์ ศิลปินอเมริกันผู้ถูกบังคับให้โลกสวย

นอร์แมน ร็อคเวลล์คือศิลปินชาวนิวยอร์ค ที่คนชอบศิลปะรู้จักกันดีว่าเป็นจิตกรอัจฉริยะ เขาวาดภาพเหมือนจริงที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและอารมณ์ที่ละเอียดอ่อน สไตล์งานของเขาจะเป็นการถ่ายถอดเรื่องราวของชีวิตประจำวันเรียบง่ายของผู้คนในเมืองเล็กของอเมริกา ที่ผู้คนล้วนยิ้มแย้มแจ่มใส ดูมีความสุขแบบพอเพียง ภาพมีอารมณ์ขันน่ารัก ในยุคที่ภาพถ่ายสียังไม่ถือกำเนิด ภาพเหมือนจริงของโมเม้นต์เล็กๆ ในชีวิตง่ายๆ แบบนี้จึงเข้าถึงความรู้สึกทุกเพศทุกวัย เช่นแก๊งเด็กแก่นแอบมาเล่นน้ำ ภาพครอบครัวเปี่ยมสุขในอุดมคติอเมริกัน (พ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว และหมาน่ารักหนึ่งตัว) โลกนี่ช่างสวยงามสุขสันต์ อเมริกันจงเจริ้ญ!

แต่เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงในตอนนั้น นอร์แมนมีอายุระหว่างปี 1894-1978 หมายความว่าเขามีชีวิตวัยหนุ่มในช่วงยุคขัดสนของอเมริกา ผู้คนกระจัดกระจายออกจากบ้านนอกเข้าไปหางานในเมืองใหญ่ อเมริกาเข้าร่วมส่งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1917) พอจบสงครามก็ตามด้วยยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (1929 - The Great Depression) ที่มีแต่คนยากจนตกงาน พ้นช่วงนั้นแต่ยังไม่ทันจะตั้งตัวได้เท่าไหร่ ก็สงครามโลกครั้งที่สองอีกแล้ว (1939) ภาพชีวิตที่นอร์แมนเขียนจึงดูตรงข้ามกับโลกแห่งความเป็นจริง แต่มันก็ทำให้คนดูหนีจากโลกแห่งความจริงได้ชั่วขณะ ผลงานของเขาจึงเป็นเหมือนภาพโลกยูโทเปียของชาวอเมริกันว่าความหวังยังมี

ด้วยเหตุนี้นอร์แมนจึงเป็นศิลปินสุดรักของชาวอเมริกัน งานที่โด่งดังของเขาแทบทั้งหมดคืองานเขียนภาพประกอบให้ปกนิตยสาร The Saturday Evening Post ที่เขาเริ่มทำตั้งแต่อายุแค่ 22 มันเป็นนิตสารเนื้อหาเบาๆ ที่อ่านด้วยกันได้ทั้งครอบครัว เขาสร้างงานให้นิตยสารเล่มนี้ถึง 50 ปี เขียนงานไปทั้งหมด 323 ปก


แต่มีบางอย่างหายไปในผลงานเหล่านั้น นั่นคือภาพของนอร์แมนใน The Saturday Evening Post แทบไม่ภาพคนดำเลย คำถามคือนอร์แมนเป็นพวกเหยียดผิวหรือเปล่า?

และคำตอบคือไม่

เขาเป็นศิลปินที่ต้องทำตามโจทย์ลูกค้า สังคมอเมริกันก่อนยุค 50s คนดำเป็นชนชั้นที่โดนเหยียดหยาม ทำได้แต่งานแรงงานหรือรับใช้ แต่นิตยสารที่นอร์แมนทำนั้นเจาะกลุ่มคนขาวอนุรักษ์นิยมล้วนๆ และนิตยสารก็อยากจะอยู่แบบโลกสวยไปเรื่อยๆ


แล้วจุดเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นในปี 1941 ซึ่งเป็นช่วงกลางสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อประธานาธิปดีโรสเวลต์ต้องการปลุกความรักชาติด้วยการผลักดันเสรีภาพชาวอเมริกันสี่ประการ คือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, เสรีภาพในการนับถือศาสนา, เสรีภาพในการมีชีวิตที่ดี และเสรีภาพในการปกป้องประเทศ ช่วงนั้นนอร์แมนเองก็ต้องการทำงานสนับสนุนเพื่อนร่วมชาติและทหารอเมริกันในสงคราม เขาอยากเขียนภาพประกอบที่มาจากเสรีภาพสี่ประการของโรสเวลต์มาเป็นปีแล้วแต่ยังคิดไม่ออก จนคืนหนึ่งของปี 1943 พอดีอขาได้ไปเข้าร่วมเสวนาชุมชน (town hall meeting) ใน Vermont, New York เมืองของเขา แล้วมีผู้ชายคนหนึ่งลุกขึ้นยืนออกความเห็นที่สวนทางความคิดคนทั้งห้อง ตอนนั้นเองที่นอร์แมนรู้แล้วว่าเขาจะเขียน “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” อย่างไร และเป็นภาพที่เกิดจากชีวิตประจำวันแบบที่เขาถนัด

Freedom of Speech (1943) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

นอร์แมนที่ตอนนั้นอายุ 49 ปีและทำงานให้ Saturday Evening Post มา 25 ปีแล้ว นำสเก็ตช์ไปเสนอสำนักพิมพ์แบบไม่แน่ใจว่าจะผ่านหรือเปล่า แต่ Saturday Evening Post กลับเห็นดีด้วย ถึงขั้นยินดีให้นอร์แมนหยุดส่งงานภาพปกสามเดือนเพื่อใช้เวลาเขียนภาพทั้งสี่ภาพในซีรีส์เสรีภาพสี่ประการของโรสเวลต์นี้ เพื่อใช้ตีพิมพ์ในเล่มต่อกันสี่ฉบับรวด


แล้วสี่ภาพนั้นก็ฮิตถล่มทลายเกลี้ยงแผงพิมพ์ไม่พอขาย ภาพเป็นที่ต้องการจนต้องพิมพ์เป็นโปสเตอร์แยกขาย และต่อมากลายเป็นสแตมป์ขายดิบขายดีทั่วอเมริกา กลายเป็นสี่ภาพประวัติศาสตร์ของอเมริกา

Freedom to Worship (1943) เสรีภาพในการนับถือศาสนา
Freedom from Want (1943) เสรีภาพในการมีชีวิตที่ดี
Freedom from Fear (1943) เสรีภาพในการปกป้องประเทศ

จากนั้นนอร์แมนก็เริ่มมีอิสระในการถ่ายทอดความคิดของเขาผ่านการเขียนภาพ ปกนิตยสารก็เริ่มอนุญาตให้มีคนดำบ้าง แต่นอร์แมนรู้ดีว่าบางทีมันอาจจะหนักไปหน่อยสำหรับนิตยสารครอบครัวคนขาวหัวโบราณ เขาจึงเปลี่ยนไปเขียนให้นิตยสาร Look นิตยสารวิจารณ์สังคมที่เปิดโอกาสให้เขาแสดงการเรียกร้องความยุติธรรมทางเชื้อชาติสีผิวได้สบายใจกว่า เช่นภาพที่เขาเขียนให้นิตยสาร Look ในปี 1964  "The Problem We All Live With" (ปัญหาที่เราหนีไม่พ้น) ที่ทรงพลังมาก จนต่อมาในปี 2011 ประธานาธิปดีโอบามาต้องขอไปติดในทำเนียบขาว

The Problem We All Live With - ภาพประกอบในนิตยสาร Look ปี 1961
New Kids in the Neighborhood - ภาพประกอบในนิตยสาร Look ปี 1967

ดังนั้น ถ้าเราเอางานยุคแรกกับยุคหลังของนอร์แมนมาวางคู่กัน จะเห็นบรรยากาศและเรื่องราวงานที่คนละเรื่องคนละขั้วกันเลยกับกับยุคโลกสวยในวัยหนุ่มของเขา

Southern Injustice - The Murder in Mississippi ภาพประกอบในนิตยสาร Look ปี 1965
ปก Saturday Evening Post ปี 1935ปก Saturday Evening Post ปี 1961
ปก Saturday Evening Post ปี 1942

อัลบั้มล่าสุดของลาน่า เดล เรย์ ชื่อ "Norman Fucking Rockwell" แต่นอร์แมน ร็อคเวลล์ไม่ได้เป็นผัวลาน่าหรือเกี่ยวข้องอะไรกัน แต่เป็นศิลปินชั้นยอดของโลกที่นำเสนอภาพอเมริกาในช่วงชีวิตของเขาได้อย่างปราณีตชัดเจน ส่วนลาน่า เดล เรย์ ก็เป็นนักรองสาวเสียงดิ่งที่เราชื่นชอบ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ฟังทั้งอัลบั้มเลยไม่รู้ว่าเธอเอานอร์แมน ร็อคเวลล์มาเล่นเรื่องอะไร รู้แต่ว่าอัลบั้มนี้ได้ Jack Antonoff จากวง Bleachers มาโปรดิวซ์ให้ ก็คิดว่าน่าจะเข้าทีมากๆ


Kommentare


bottom of page