top of page
  • Black Facebook Icon
  • Instagram

Welcome to the world where truth doesn't hurt

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ให้ผู้ลี้ภัยใช้คล้องคอ


(scroll down for original English version)


คุณทราบไหมคะ ว่าเมื่อแปดปีที่แล้วซีเรียรับผู้อพยพจากอิรัคมาหลายพันคน ซีเรียเป็นแหล่งลี้ภัย เป็นที่ๆ ผู้ลี้ภัยหาที่พักพิง แต่ตอนนี้พอมาคิดดู ชื่อซีเรียจะมีอะไรให้นึกถึงอีกนอกจากสงคราม? ฉันรู้สึกว่าสมองคนเราไม่จำอะไรที่เกิดขึ้นเกินหกปี ดินแดนแห่งความสงบชื่อซีเรียนั้นไม่เคยมีอยู่จริง ไม่แม้แต่ในความทรงจำมนุษย์ เราได้แต่หวังว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นในเร็ววัน


ฉันอยากจะเล่าความลับให้คุณฟังหน่อยค่ะ บางทีฉันฝันจะได้เห็นหนังสือแทบลอยด์พากันพาดหัวว่า “สงครามสิ้นสุดแล้ว!” ผู้คนต่างวิ่งร่ากอดกันอยู่บนท้องถนนเหมือนภาพที่เห็นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่คราวนี้เป็นภาพสี ทุกคนมีรอยยิ้มที่แท้จริงในรูปเซลฟี่ ทุกคนมีความสุขอย่างแท้จริง ความฝันนี้ทำให้ฉันรู้สึกงี่เง่าจนอายตัวเองทุกทีที่ตื่น ยังเหลืองานอีกมากมายที่ต้องทำ


ฉันมีเรื่องอยากเล่าให้ฟังอีกเรื่อง เรื่องตอนที่ฉันกับเพื่อนไปกรีซเพราะมีสิ่งที่ทำให้เรานอนไม่หลับ ตอนนั้นเป็นเดือนพฤศจิกายนปี 2015 เราไปที่เมืองคอส (Kos) เราทำทุกอย่างที่พอจะช่วยได้ ผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าชายฝั่งคอสทุกคืน ส่วนใหญ่มากจากอัฟกานิสถานและอิหร่าน คำว่า Kos แปลว่า ‘จิ๋ม’ ในภาษาอิหร่านและอัฟกานิสถาน เราทำงานให้องค์กรชื่อ “Kos Sodarity” (จิ๋มสามัคคี)

งานของเราเกี่ยวกับการให้อาหารและเครื่องนุ่งห่มกับผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในเต้นท์มากมายบนเกาะ บางทีเราก็ขับรถไปเรื่อยๆ และต้องหยุดช่วยผู้คนขึ้นมาจากทะเล อาสาสมัครทุกคนได้นอนน้อยมากและดูซีดเซียว ทุกคนสูบบุหรี่และชอบหัวเราะกันครื้นเครง ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ด้วยคงไม่ต้องบอกว่ามันมีเรื่องเศร้าเข้ามาให้เราเห็นมากมายขนาดไหน ภาพชายคนนนั้นที่เสียลูกชายสองคนไปในทะเลจะคอยตามหลอกหลอนฉัน สิ่งเดียวที่เราพอจะช่วยเขาได้ คือหาอาหารและเสื้อผ้าให้เขาและลูกชายคนเดียวที่รอดชีวิต กับให้เวลาเล็กๆ น้อยๆ ของเรา ด้วยการนั่งอยู่กับเขาเงียบๆ ในวันหลังเกิดเหตุ ถ้าฉันเข้าใจไม่ผิด นี่เป็นสิ่งที่เขาทำกันในวัฒนธรรมอาหรับเมื่อใครสักคนจากไป คุณจะนั่งเคียงข้างผู้สูญเสีย เผื่อจะช่วยบรรเทาความร้าวรานของเขาได้บ้าง เราก็เลยนั่งกันในห้องโรงแรม โทรศัพท์ของเขาดัง เขาไม่รับสาย แต่ริมฝีปากล่างของเขาสั่น คนที่โทรมาคงอยากได้ยินว่าการเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอเรเนี่ยนเป็นไปได้ด้วยดี

แต่ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่นเรื่องเด็กๆ ชาวซีเรียที่แต่งตัวกันดีมาก สง่างามเป็นที่สุด แต่พอพวกเขามาถึงชายฝั่งในสภาพเปียกปอน เราจะจับเด็กๆ เปลี่ยนชุดด้วยเสื้อผ้าที่เรามีอยู่ในกล่องบริจาค เด็กๆ สงบเสงี่ยมและเชื่อฟังกันมาก พวกเขาอยากจะไปวิ่งเล่น และจะหัวเราะกันคิกคัก เวลาฉันพยายามสื่อสารกับพวกเขาด้วยภาษาอาหรับห่วยๆ ของฉัน ฉันเองก็ไม่เคยแต่งตัวให้เด็กๆ มาก่อน เลยงงงวยกับการหาไซส์เสื้อผ้า เมื่อไหร่ที่เราแต่งตัวให้เด็ก เด็กๆ ก็จะออกมาดูแย่ทุกคน เสื้อตัวใหญ่เกิน ไม่มีอะไรเข้ากันสักอย่าง แต่อย่างน้อยมันก็แห้งล่ะ

1. ตรงนี้คือที่ๆ เราตั้งจุดแจกจ่ายเสื้อผ้า 2. เมื่อถึงฝั่ง ผู้ลี้ภัยจะได้รับแจกบิสกิตที่ให้พลังงานสูง 3. ภาพนี้เราซื้อโค้กแจกเด็กๆ ตอนเล่นไพ่กัน และบังคับให้พวกเขาโทรรายงานพ่อแม่ว่ามาถึงโดยปลอดภัย 1. The sunset is by the port where we had the clothes stand 2. The biscuits are high energy and were distributed to the refugees when they arrived 3. In this picture we bought them Coca Cola and played cards and forced them to call their parents to tell them they were fine

ที่จำได้แม่นอีกคนหนึ่ง คือชายตัวผอมชาวปากีสถาน เขามาหาเราในเช้าตรู่วันหนึ่ง ทั้งตัวมีแค่กางเกงใน เราเคยได้ยินเขาลือกัน ว่านายหน้าพาคนอพยพจะยึดเสื้อผ้าผู้อพยพก่อนขึ้นเรือ โดยบอกว่า “เดี่ยวถึงฝั่งก็มีคนเอาเสื้อผ้ามาให้เองล่ะ” นั่นหมายความว่าเสื้อผ้าที่เเขาได้จากเราเมื่อมาถึง ถือเป็นค่าเดินทางข้ามทะเลด้วย รันทดอะไรจะขนาดนี้


ชายล่อนจ้อนคนนั้นมาหาเรา หนาวจนตัวสั่นเทา แต่เมื่อคืนนี้ผู้คนวุ่นวาย เราจึงแทบไม่เหลืออะไรจะให้เขาใส่ ฉันจึงยื่นกางเกงดิสโก้แนบเนื้อผ้าแวววาวให้เขา กับแจ๊คเก็ตขนฟูสีนีออน และหมวกปีกกว้างประดับพู่ปุยสองข้าง เขาถามว่ามีรองเท้าไหม แต่มันไม่เหลือไซส์ของเขาเลย แต่ฉันก็ไปหารองเท้าหัวแหลมคู่หนึ่งมาจนได้ น่าจะเป็นรองเท้าพื้นเมืองตุรกี


ตัวเขาหายสั่นแล้ว และพร่ำขอบคุณฉันครั้งแล้วครั้งเล่า ตอนนี้เขาดูตลกดีแท้ ทุกที่ๆ เขาเดินผ่าน ทุกคนต่างยิ้มและต้องมองตาม เขาเดินลับไปในแสงแรกของดวงตะวัน ฉันอยากรู้จังว่าตอนนี้เขาอยู่ไหนแล้ว


(ประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยผู้ลีภัย แต่ไม่ได้หมายความว่าเมืองไทยจะไม่มีผู้ลี้ภัย ไทยมีผู้ลี้ภัยโรฮิงย่าจำนวน 328,000 คน และมากกว่านั้นอีกมาก ถ้านับผู้ลีภัยสัญชาติอื่นๆ ด้วย)

ปัจจุบันผู้เขียนทำงานกับสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และผู้เขียนขอไม่เปิดเผยชื่อ


Did you know that eight years ago, Syria received thousands of Iraqi refugees? Syria was a refuge, a place where refugees found shelter. Think about it – do you have any other associations to Syria than the war? I have the impression that the human brain does not remember anything that took place longer than six years ago. A peaceful Syria doesn’t exist, not even in the in human memory. We can only hope for a peaceful Syria in a very near future.


I would like to share a secret with you. Sometimes I dream of the tabloids writing “The war is over!”, people running out on the streets, hugging. Like the pictures after the Second world war, only in color. Everyone has and real smile on the selfies, everyone is genuinely happy. I feel so silly when I wake up from this dream, almost ashamed. So much work remains.


I will tell you another story. Of when I me and my friend went to Greece because we could not sleep at night. This was November 2015. We went to Kos town, to do whatever we could. Thousands of refugees arrived to Kos every night. Many were from Afghanistan or Iran. Kos means pussy in Farsi and Dari. We worked for an organization called Kos Solidarity.


Our job involved giving food and clothes to refugees that lived in tents all over the islands. Sometimes we also went around in the car and pulled up people from the water. All volunteers had slept very little and looked pale. Everyone smoked and people laughed a lot. We had too. Needless to say, there was a lot of sadness involved. The image of the man who lost his two children in the sea will haunt me. The only thing we could do for him was to give him and his surviving son clothes and food. And a little bit of our time. We were sitting with him the day after it happened, in silence. If I understand it correctly, this is how you do it in Arabic cultures when someone has passed away. You sit with the relative; you try to bear their sorrow a little bit. So we were sitting in the hotel room. And his phone was ringing. He did not pick up, but his lower lip was shaking. The person calling probably wanted to make sure that the trip over the Mediterranean Sea had gone well.

But there were also other stories. The Syrian children that were so well dressed. Really elegantly. They arrived to the port, all wet after a dinghy ride. We changed their clothes with what we had in the donation boxes. The children were so calm and trusting; they wanted to play and giggled when I tried to communicate with them in my poor Arabic. I had never dressed a child before and I struggled with finding the right size. Mosly they looked awful after we had dressed them, in clothes too big, not matching at all. At least they were dry.


I remember especially this one skinny man from Pakistan; he turned up by our clothes stand one morning, only in underwear. We had heard rumours that the smugglers make the refugees take of their clothes before they get into the boat with the argument that “you will get new clothes on the other side”. The clothes we handed out were apparently included in the price for crossing the sea. Cynicism at its lowest.


So this man turns up, shaking of cold. It had been a busy night, so there was almost nothing left to hand out. I gave him these shiny disco tights, a neon puffy dune jacket, a hat with two huge pon pons on each side. He asked me for shoes, but there was nothing in his size. In the end I managed to find these pointy, I think Turkish, folk shoes. He had stopped shaking and thanked me a million times. He looked hilarious; everyone smiled and turned their head when he passed. And so he continued, towards the sunset. I wish I knew where he is now.


(Thailand has not signed the Geneva Convention on refugees. Which does not mean they are no refugees in Thailand. There are 328 000 Rohingya refugees in Thailand, and many more if you count the other nationalities. )


The author currently works for European Union  in Thailand. The author wishes to remain anonymous.

bottom of page