top of page
  • Black Facebook Icon
  • Instagram

Welcome to the world where truth doesn't hurt

เราควรจะสั่งอาหารกับร้านโดยตรง หรือผ่านพ่อค้าคนกลางคือ app สั่งอาหาร

จากดราม่า Grab หักเปอร์เซ็นร้านค้าจาก 30% เป็น 35 % จนเกิดกระแสแบน Grab อยู่อาทิตย์กว่า และ ทำให้เกิดแนวคิดว่าในสถานการณ์ชัดสนแบบนี้ เพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง เราควรจะสั่งอาหารตรงจากร้านไปเลยดีไหม เพื่อให้ทั้งร้านค้าและมอเตอร์ไซค์ได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ต้องโดนพ่อค้าคนกลางหัก

 

เรื่อง: พฤกษา วงศ์พวก @kikikwangw

 

อาทิตย์ที่ผ่านมาเราไปส่องกลุ่มจุฬามาร์เกตเพลส และธรรมศาสตร์และการฝากร้าน ที่มีศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันฝากร้านกันคึกคักชนิดที่ว่า 1 วันมีโพสท์ใหม่หลายพันโพสท์ เกิดพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ขึ้นเยอะมากจริงๆ เมื่อสอบถามบางร้านค้า ก็ได้คำตอบว่าการโพสท์ในมาร์เกตเพลสทำให้ยอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเยอะมากโดยไม่ต้องง้ออินฟลูเอนเซอร์หรือเข้าระบบเดลิเวอรี่ใดๆ ให้โดนหักเปอร์เซ็นต์

ร้าน CO-F & CO-W เป็นคาเฟ่ย่านธรรมศาสตร์รังสิตที่ก็ไปโพสต์ฝากร้านในกรุ๊ปธรรมศาสตร์ เล่าว่าเมื่อต้องปิดร้านจึงต้องขายแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งเจ้านี้เลือกใช้ไลน์แมนที่จะหักเงินไป 30% จากราคาของ แต่ร้านก็ไม่ได้คิดเงินเพิ่ม ทุกอย่างปริมาณให้เท่าเดิมเพราะเป็นเครื่องดื่มต้องบรรจุใส่ขวดมีมาตรฐานอยู่

หลังจากที่โพสท์ไปร้านขายดีขึ้นแต่ติดปัญหาเรื่องร้านอยู่ไกลถึงธรรมศาสตร์รังสิตเลยทำหุ้นส่วนของร้านที่มี 7 คน ต้องปรับกลยุทธ์การขายให้เป็นรูปแบบพรีออเดอร์ ส่งเป็นรอบและกระจายกันไปส่ง โดยหุ้น 7 คน 7 บ้านก็กระจายไปตามเขตมุมเมืองต่างๆ ไปดรอปจุดหนึ่ง แล้วห้ลูกค้าเรียกมอเตอร์ไซค์มารับเอง เช่นบ่าย 2 ของจะถึงอารีย์ซอย 2 ให้เรียกมอเตอร์ไซค์มารับได้เลย ซึ่งก็ช่วยเพิ่มรายได้ถึง 30% แต่ก็ลำบากการจัดส่งที่ลูกค้าอาจจะไม่ได้รับความสะดวกสบายแบบการใช้แอปที่อยากกินก็แค่กดสั่ง

 

ส่วนร้านครัวบุญปาก ร้านขายอาหารที่ทำกินเองยาก เคยเปิดขายเฉพาะออนไลน์มากว่า 2 ปีก่อนจะมีหน้าร้าน ร้านนี้มีวิธีการขายของที่น่าสนใจแบบไม่ต้องพึ่งแอป คือเปิดรับออเดอร์เป็นรอบ ส่งเฉพาะวันพุธและเสาร์ รอบหนึ่งอยู่ที่ 700-800 ชุด โดยทางร้านจะให้ลูกค้าเลือกรับอาหารสองแบบคือ 1. แชร์ค่าส่งบ้านใกล้ทางเดียวกัน วิธีคือร้านจะจ้างมอเตอร์ไซค์ส่งของรายวันของทางร้านเอง แล้วแยกเป็นเส้นทาง โดยร้านจะลิสต์เบอร์และพิกัดไว้ ส่วนค่าส่งก็จะอยู่ที่ประมาณ 50 บาท แต่ระบบแชร์ค่าส่งแบบนี้ก็เกิดปัญหา เช่นลูกค้าไม่อยากรอนาน ทำไมบอกว่าออกไปส่งตั้งแต่เที่ยงแต่บ่ายโมงยังไม่ถึง ร้านจึงเพิ่มวิธีให้ลูกค้าเรียกมอเตอร์ไซค์มารับเอง ส่วนค่าส่งก็ขึ้นอยู่กับระยะทางตามที่ลูกค้าเรียก


ร้านบุญปากทำระบบรับออเดอร์เองแบบนี้อยู่ 2 ปีจนเปิดหน้าร้าน เมื่อเปิดก็มีไลน์แมนทาบทามมา ทางร้านเลยโอเค แต่ปัญหาที่เจอคือพนักงานเดลิเวอรี่ชอบเร่งอาหารเพราะต้องการทำรอบ ร้านจึงชอบการจัดส่งเองมากกว่า ทั้งไม่โดนหักและผู้บริโภคก็ไม่ต้องจ่ายค่าส่งแพง

 

ร้าน Noma ร้านเหล้าที่เปลี่ยนบาร์มาเป็นครัวทำอาหารกล่องเดลิเวอรี่ ทางร้านบอกว่าข้อดีของการใช้บริการแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่คือเหมือนได้โฆษณาร้านไปในตัว เพราะจะขึ้นตอนคนเลือกร้านในแอป ทำให้การขายทุกวันนี้ครึ่งนึงเป็นลูกค้าใหม่จากทางแอป ครึ่งนึงเป็นลูกค้าประจำที่มาบาร์บ่อยๆ แต่แน่นอนว่าถ้าเลือกได้ก็ชอบที่จะให้คนสั่งตรงกับที่ร้านมากกว่าเพราะไม่ต้องแชร์ต้นทุนกับใคร

 


แต่ก็มีร้านที่ชอบอยู่กับแอปสั่งอาการมากกว่า เช่นร้านข้าวมันไก่เจ๊โบว์ บรรทัดทอง ซึ่งไม่มีหน้าร้าน เจ๊โบว์บอกถ้าว่าเปิดหน้าร้านก็ต้องเสียค่าเช่าที่ การต้องหักเปอร์เซ็นต์ให้บริการเดลิเวอรี่ก็เหมือนการต้องจ่ายค่าที่นั่นล่ะ และที่เจ๊โบว์ชอบบริการแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เพราะไม่ต้องเรียกมอเตอร์ไซค์เอง ไม่ต้องรับโทรศัพท์จดออเดอร์เอง ชอบให้มอเตอร์ไซค์ที่เป็นเหมือนคนซื้อเข้ามาสั่งมากกว่า


เจ๊โบว์บอกว่า บริการเดลิเวอรี่ที่หักเปอร์เซ็นต์ทางร้านก็ต้องคิดราคาอาหารเพิ่มไปเพราะโดนหัก จากหน้าร้าน 40 บาทก็เพิ่มมาเป็น 50 บาทและก็ให้ข้าวเพิ่มไปนิดนึงเพราะรู้สึกเขาจ่ายแพงกว่าสั่งหน้าร้านแถมต้องเสียค่าส่งเลยควรแถมให้

bottom of page